เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ศูนย์วิทยาศาสตร์แอนตาร์คติกแห่งชาติยูเครน (National Antarctic Scientific Center) ได้โพสภาพเกี่ยวกับปรากฏการ “น้ำแข็งสีเลือด” พร้อมแสดงความห่วงใยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่าน Facebook Fanpage: Національний антарктичний науковий центр
ภาพดังกล่าวเป็นภาพของ ฐานการวิจัยเวร์นาดสกี้ (The Vernadsky Research Base) สถานีวิจัยแอนตาร์กติกของยูเครนถูกล้อมด้วยพื้นผิวน้ำแข็งสีแดงเลือด เหมือนภาพที่เราเคยเห็นในสารคดีเกี่ยวกับการล่าแมวน้ำไม่มีผิด ต่างกันที่ว่าไม่ได้มีการล่าและไม่มีซากศพของสัตว์อยู่ในบริเวณนั้นเลยสักตัวเดียว….
มันเกิดอะไรขึ้น? อะไรทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเช่นนี้? แถมยังพบน้ำแข็งสีแดงแทรกตัวอยู่เข้าไปในก้อนน้ำแข็งที่แตกออกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ของสถานีวิจัยจึงได้นำก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ส่องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ พบว่าในก้อนน้ำแข็งเต็มไปด้วย สาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียวที่ชื่อว่า Chlamydomonas nivalis ซึ่งเป็นสาหร่ายที่ไม่กลัวอุณหภูมิสูงและยังคงมีชีวิตอยู่ในหิมะตลอดฤดูหนาวที่ยาวนาน
นอกจากที่ C. nivalis จะมีชั้นคลอโรฟิลล์สีเขียวเพื่อสังเคราะห์แสงเหมือนสาหร่ายสีเขียวอื่นๆ แล้ว หลังจากที่พวกมันโตเต็มที่ มันจะสร้างผนังเซลล์ที่มีชั้นแคโรทีนสีแดงขึ้นเพื่อปกป้องตนเองจากรังสีอัลตราไวโอเลต และตอนนี้ในทวีปแอนตาร์กติกาก็มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น ซึ่งเอื้ออำนวยกับการเจริญเติบโตของพวกมัน จึงเกิดเป็นปรากฏการน้ำแข็งสีแดงเลือดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ
แล้วปรากฏการณ์ “น้ำแข็งสีเลือด” มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อนอย่างไร? การศึกษาในปี 2016 แสดงให้เห็นว่าสีแดงของ C. nivalis สามารถลดปริมาณแสงที่สะท้อนจากหิมะ (หรือที่รู้จักกันในชื่อ Albedo) ในขั้วโลกใต้ได้มากถึง 13 เปอร์เซ็นต์
และนอกจากนั้น สีแดงของสาหร่ายเหล่านี้ยังช่วยให้พวกมันดูดซับความอบอุ่นได้มากขึ้น น้ำแข็งที่มันอาศัยอยู่จึงละลายเร็วขึ้น ซึ่งทำให้ทำให้พวกมันเจริญเติบโตได้ดีขึ้นอีกเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่
จึงสรุปได้ว่าปรากฏการน้ำแข็งสีเลือดส่งผลให้อัตราการละลายสูงขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ภาพถ่ายโดย: Andrey Zotov นักชีววิทยาชาวยูเครน
Credit:
https://www.sciencealert.com/these-astounding-images-of-ant…
https://web.facebook.com/AntarcticCenter/posts/1308775109332363?_rdc=1&_rdr
https://web.facebook.com/UAMON/posts/3335112826515272