อดีต ในการสร้างเมือง จำเป็นต้องกำหนดให้มีประตูเมืองหลายๆ ประตู ซึ่งแต่ละประตูจะมีวัตถุประสงค์ต่างๆ กันไป จังหวัดที่ยังมีประตูเมืองให้เห็นได้ในปัจจุบัน เช่น จังหวัดนครราชสีมา จะมีประตูชุมพล 1 ใน 4 ประตูซึ่งยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ในอดีตเชื่อกันว่าเมื่อยามออกไปทำศึกสงคราม หากกองทัพเดินลอดผ่านประตูชุมพลแล้ว จะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และมีชีวิตกลับบ้านกลับเมือง และที่เรารู้จักคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดีอีกแห่งหนึ่งก็คือที่จังหวัดเชียงใหม่ จะมีประตูท่าแพ ประตูช้างเผือก เป็นต้น บางประตูมีไว้สำหรับกองทัพออกเดินทางไปทำศึก บางประตูไว้บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ดังนั้น จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมต่างๆ ภายในเขตกำแพงถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามทำพิธีอวมงคลและอัปมงคลต่างๆ เช่น หากมีคนตาย จะไม่อนุญาตให้ประกอบพิธีในเขตกำแพงเมือง ยกเว้นแต่พระบรมศพกับพระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่สามารถจัดการในพระเมรุในกำแพงเมืองได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อศพของสามัญชนไม่สามารถทำการฌาปนกิจได้ในกำแพงเมือง เมื่อมีการก่อสร้างพระนคร จึงมีคติว่าต้องทำประตูพิเศษไว้ที่กำแพง
ในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดโรคอหิวาตกโรคระบาดหนัก (โรคห่า) ทำให้ผู้คนที่อยู่ในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ต้องลำเลียงศพผ่านประตูเมืองแห่งนี้เพื่อไปประกอบพิธีฌาปณกิจที่วัดสระเกศ ประตูแห่งนี้จึงถูกเรียกว่า “ประตูผี”
หลังจากไม่มีโรคระบาด ทางการจึงเห็นควรว่าจะเปลี่ยนประตูผีนี้ เสียใหม่ให้เป็น “สำราญราษฎร์” เพื่อลบล้างชื่ออัปมงคลนี้ออกไป และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นอำเภอสำราษฎร์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นแขวงสำราญราษฎร์
ปัจจุบันประตูผีได้ถูกยกเลิกไปแล้ว และมีการรื้อถอนกำแพงเมืองพร้อมประตูออกไป กลายเป็นย่านที่ถูกกล่าวขานและมีชื่อเสียง เนื่องจากมีร้านอาหารขึ้นชื่อหลายร้าน รวมตัวกันอยู่ที่นี่ เช่น ผัดไทประตูผี ข้าวต้มเป็ดประตูผี เย็นตาโฟประตูผี เป็นต้น ทำให้ช่วงกลางคืนผู้คนคึกคักและชื่อประตูผีก็ไม่ได้น่ากลัวอีกต่อไป
หมดโควิด 19 แล้ว World Explorer ขอชวนคุณไปสำรวจย่านนี้ด้วยกันนะคะ
อ้างอิง
https://www.silpa-mag.com/history/article_10387
https://www.blockdit.com/posts/5e54f33abdf7fc5f63973e61